วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน




การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (Ordinary National Education Test: O-NET) เป็นการวัดความรู้ที่เรียนมาตลอดช่วงชั้นที่ 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยจะสอบเมื่อเรียนจบปีที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) เพียงครั้งเดียว และคะแนนที่ได้ก็จะติดตัวตลอดไป

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการทดสอบ ข้อสอบ O-NET ออกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ไม่มีการแยกแผนการเรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่ออกสอบซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานทั้งหมด จึงต้องสอบทุกคน วิชาที่จัดสอบและเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ คือ

01 ภาษาไทย มีเนื้อหาสาระหลัก ได้แก่
หลักการใช้ภาษา

02 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีเนื้อหาสาระหลัก 5 สาระ ได้แก่
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ)
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม (กฎหมาย สังคมวิทยา และการเมือง)

03 ภาษาอังกฤษ
การใช้ภาษาและคำศัพท์
การอ่าน
การเขียน (หาที่ผิดทางไวยากรณ์)
การพูด

04 คณิตศาสตร์ ขอบเขตของเนื้อหา ได้แก่
เซต การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน อัตราส่วนตรีโกณมิติ

05 วิทยาศาสตร์ เนื้อหากว้าง ๆ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และกายภาพ (โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ) แต่หากแบ่งตามสาระการเรียนรู้ ก็จะได้แก่
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สารและสมบัติของสาร
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ข้อสอบ O-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 10% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น