วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง




การทดสอบทางการศึกษาการแห่งชาติขั้นสูง หรือ เอเน็ต (Advanced National Education Test: A-NET) เป็นข้อสอบที่มีระดับความยากและความซับซ้อนมากกว่าข้อสอบ O-NET โดยวัดความรู้ เน้นการคิด การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ โดยจะสอบกี่ครั้งก็ได้ และคะแนน A-NET จะใช้ได้ครั้งละ 3 ปี

อย่างไรก็ตาม นักเรียนสามารถสมัครสอบทุกวิชา บางวิชา หรือไม่ต้องสอบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคณะและสาขาที่สนใจเข้าศึกษาต่อนั้นต้องการคะแนน A-NET วิชาใดบ้าง หรือไม่ต้องใช้ในการคัดเลือกเลย (เช่น นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์) วิชาที่จัดสอบ A-NET ได้แก่

11 ภาษาไทย เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่ตัดเนื้อหาการพูดออกไป เน้นหลักเนื้อหาการใช้ภาษาและเนื้อหาวรรณคดีให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
12 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET ไม่มีคำถามอัตนัย แต่เพิ่มความยากขึ้น
13 ภาษาอังกฤษ เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่เน้นการอ่านและการเขียนให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยมีคำถามอัตนัยให้เขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความ บทกวี หรือเพลงที่ได้อ่าน ความยาว 70-140 คำ มีเกณฑ์ให้คะแนน 0-20 คะแนนตามความถูกต้อง การใช้ภาษา การลำดับความ และการสื่อความที่เหมาะสม
14 คณิตศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น ตรรกศาสตร์เบื้องต้น เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ เรขาคณิตวิเคราะห์ เวกเตอร์ในสามมิติ แคลคูลัสเบื้องต้น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เป็นต้น
15 วิทยาศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยตัดเนื้อหาวิทยาศาสตร์กายภาพออกไปเหลือเพียงวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ในข้อสอบจะแบ่งเนื้อหาดังกล่าวจากกันชัดเจนมากขึ้น และมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น กลศาสตร์ของไหล ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตารางธาตุ สมดุลเคมี ทฤษฎีกรด-เบส ไฟฟ้าเคมี สารชีวโมเลกุล การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ พันธุศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น

ข้อสอบ A-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 20% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น