วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนของระบบแอดมิสชันส์




1.ทดสอบแบบทดสอบต่าง ๆ ข้างต้น ตามที่แต่ละคณะ/สาขาวิชาได้กำหนดไว้ให้ครบถ้วน

2.สมัครเข้าศึกษาและเลือกคณะที่ต้องการศึกษาต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเลือกได้ไม่เกิน 4 อันดับ และนำเงินค่าสมัครไปจ่ายผ่านทางธนาคารหรือที่ทำการไปรษณีย์

3.ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะนำคะแนนสอบต่าง ๆ มาคำนวณกับ GPA และ GPAX ให้เป็นคะแนนเต็ม 10,000 เพื่อใช้ตัดสินผลตามอันดับที่เลือกไว้ ซึ่งการคำนวณคะแนนของแต่ละคณะของแต่ละคนก็จะได้ผลคะแนนรวมที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคณะนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ GPA/คะแนนสอบ วิชาใดบ้าง และใช้น้ำหนักเท่าใด โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 9 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่
 :* สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
 :* สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากร
 :* สาขาวิศวกรรมศาสตร์
 :* สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
 :* สาขาเกษตรศาสตร์
 :* สาขาบริหารธุรกิจพาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์
 :* สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
 :* สาขาศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
 :* สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็จะใช้
- GPAX 10% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- GPA กลุ่มสาระภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 4% รวม 20% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- คะแนน O-NET ทั้ง 5 วิชา วิชาละ 7% รวม 35% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- คะแนน A-NET ภาษาอังกฤษ 10% คณิตศาสตร์ 10% และวิทยาศาสตร์ 15 % รวม 35% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด เป็นต้น

4. สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย


5. ประกาศผลการคัดเลือก

การสอบวิชาเฉพาะ




วิชาเฉพาะมีลักษณะเดียวกับ A-NET คือไม่จำเป็นต้องสอบ ขึ้นอยู่กับว่าคณะนั้น ๆ ต้องการใช้คะแนนส่วนนี้ในการคัดเลือกหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

วิชาภาษาต่างประเทศ
31 ภาษาฝรั่งเศส
32 ภาษาเยอรมัน
33 ภาษาบาลี
34 ภาษาอาหรับ
35 ภาษาจีน
36 ภาษาญี่ปุ่น

สำหรับปีการศึกษา 2548 สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติได้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ภาษาต่างประเทศ) พร้อมกับการสอบ O-NET และ A-NET ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2549

วิชาความถนัด
37 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
38 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
39 ความถนัดทางวิชาชีพครู (วัดแววความเป็นครู)
40 ความรู้ความถนัดทางศิลป์
41 ทฤษฎีทัศนศิลป์
42 ปฏิบัติทัศนศิลป์
43 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
44 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
45 วาดเส้น
46 องค์ประกอบศิลป์
47 ความถนัดทางนิเทศศิลป์

สำหรับปีการศึกษา 2548 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เป็นผู้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ความถนัด) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548

ในปัจจุบันนั้น พุทธศักราช 2552 เป็นปีสุดท้ายที่มีการใช้ A-NET ในปี พุทธศักราช 2553 เป็นต้นไป นั้นได้ใช้ ความถนัดทั่วไป (GAT) และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) แทนในระบบ


การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง




การทดสอบทางการศึกษาการแห่งชาติขั้นสูง หรือ เอเน็ต (Advanced National Education Test: A-NET) เป็นข้อสอบที่มีระดับความยากและความซับซ้อนมากกว่าข้อสอบ O-NET โดยวัดความรู้ เน้นการคิด การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ โดยจะสอบกี่ครั้งก็ได้ และคะแนน A-NET จะใช้ได้ครั้งละ 3 ปี

อย่างไรก็ตาม นักเรียนสามารถสมัครสอบทุกวิชา บางวิชา หรือไม่ต้องสอบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคณะและสาขาที่สนใจเข้าศึกษาต่อนั้นต้องการคะแนน A-NET วิชาใดบ้าง หรือไม่ต้องใช้ในการคัดเลือกเลย (เช่น นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์) วิชาที่จัดสอบ A-NET ได้แก่

11 ภาษาไทย เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่ตัดเนื้อหาการพูดออกไป เน้นหลักเนื้อหาการใช้ภาษาและเนื้อหาวรรณคดีให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
12 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET ไม่มีคำถามอัตนัย แต่เพิ่มความยากขึ้น
13 ภาษาอังกฤษ เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่เน้นการอ่านและการเขียนให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยมีคำถามอัตนัยให้เขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความ บทกวี หรือเพลงที่ได้อ่าน ความยาว 70-140 คำ มีเกณฑ์ให้คะแนน 0-20 คะแนนตามความถูกต้อง การใช้ภาษา การลำดับความ และการสื่อความที่เหมาะสม
14 คณิตศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น ตรรกศาสตร์เบื้องต้น เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ เรขาคณิตวิเคราะห์ เวกเตอร์ในสามมิติ แคลคูลัสเบื้องต้น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เป็นต้น
15 วิทยาศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยตัดเนื้อหาวิทยาศาสตร์กายภาพออกไปเหลือเพียงวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ในข้อสอบจะแบ่งเนื้อหาดังกล่าวจากกันชัดเจนมากขึ้น และมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น กลศาสตร์ของไหล ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตารางธาตุ สมดุลเคมี ทฤษฎีกรด-เบส ไฟฟ้าเคมี สารชีวโมเลกุล การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ พันธุศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น

ข้อสอบ A-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 20% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม


การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน




การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (Ordinary National Education Test: O-NET) เป็นการวัดความรู้ที่เรียนมาตลอดช่วงชั้นที่ 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยจะสอบเมื่อเรียนจบปีที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) เพียงครั้งเดียว และคะแนนที่ได้ก็จะติดตัวตลอดไป

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการทดสอบ ข้อสอบ O-NET ออกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ไม่มีการแยกแผนการเรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่ออกสอบซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานทั้งหมด จึงต้องสอบทุกคน วิชาที่จัดสอบและเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ คือ

01 ภาษาไทย มีเนื้อหาสาระหลัก ได้แก่
หลักการใช้ภาษา

02 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีเนื้อหาสาระหลัก 5 สาระ ได้แก่
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ)
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม (กฎหมาย สังคมวิทยา และการเมือง)

03 ภาษาอังกฤษ
การใช้ภาษาและคำศัพท์
การอ่าน
การเขียน (หาที่ผิดทางไวยากรณ์)
การพูด

04 คณิตศาสตร์ ขอบเขตของเนื้อหา ได้แก่
เซต การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน อัตราส่วนตรีโกณมิติ

05 วิทยาศาสตร์ เนื้อหากว้าง ๆ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และกายภาพ (โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ) แต่หากแบ่งตามสาระการเรียนรู้ ก็จะได้แก่
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สารและสมบัติของสาร
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ข้อสอบ O-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 10% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมมีผลยังไง?




ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) คือผลการเรียน (เกรด) เฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า) ในปีการศึกษา 2548 (พ.ศ. 2549) จะนำมาใช้ 10% จากองค์ประกอบในการรับทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเกรดจะเฉลี่ยของวิชาพื้นฐาน (หลัก) และวิชาเพิ่มเติม (เลือก) ที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เฉพาะในสาระการเรียนรู้นั้น ได้แก่

21 ภาษาไทย
22 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
23 ภาษาต่างประเทศ
24 คณิตศาสตร์
25 วิทยาศาสตร์
26 สุขศึกษาและพลศึกษา
27 ศิลปะ
28 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

เช่น หากได้เรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หากเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ หรือหากเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและวิชาภาษาเยอรมัน ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
แต่ละคณะจะกำหนดกลุ่มสาระและค่าน้ำหนัก (เป็น %) ของกลุ่มสาระที่จะนำ GPA มาพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสาขาที่จะศึกษาต่อ โดยส่วนใหญ่จะนำ GPA ของวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาใช้ แต่คณะสาขามนุษยศาสตร์ก็มักจะไม่นำ GPA คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิจารณาคัดเลือก
เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ช่วงชั้นที่ 4) จะได้รับใบแสดงผลการเรียน (ปพ.) ซึ่งบอกทั้ง GPAX และ GPA กลุ่มสาระอยู่แล้ว จึงไม่ต้องคำนวณเองจากคะแนนเฉลี่ยแต่ละภาคเรียน

การสอบเอ็นทรานซ์ + วิชาที่ใช้ในการสอบ & การคิดคะแนน




การสอบเอ็นทรานซ์ เป็นระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยใช้ผลการสอบวัดความรู้เป็นหลักในการคัดเลือก จัดสอบโดย สำนักทดสอบกลาง ทบวงมหาวิทยาลัย ต่อมาคือ สำนักทดสอบกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

วิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบเอ็นทรานซ์ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคณะ
01 ภาษาไทย
02 สังคมศึกษา
03 ภาษาอังกฤษ
04 คณิตศาสตร์ 1
05 เคมี
06 ฟิสิกส์
07 ชีววิทยา
08 วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
09 คณิตศาสตร์ 2
10 ภาษาฝรั่งเศส
11 ภาษาเยอรมัน
12 ภาษาบาลี
13 ภาษาอาหรับ
14 ภาษาจีน
15 ภาษาญี่ปุ่น
16 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
17 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (พื้นฐานสถาปัตย์)
18 ความถนัดทางวิชาชีพครู (วัดแววความเป็นครู)
19 พลศึกษา
20 ดนตรีปฎิบัติ (ไทย)
21 ดนตรีปฎิบัติ (สากล)
22 ความถนัดทางศิลป์
23 ทฤษฎีทัศนศิลป์
24 ปฏิบัติทัศนศิลป์
25 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
26 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
27 ความรู้ทั่วไปทางศิลปวัฒนธรรม
28 ความสามารถทางศิลปะ
29 วาดเส้น
30 องค์ประกอบศิลป์
31 วาดเส้นมัณฑนศิลป์
32 ออกแบบภายใน
33 ออกแบบนิเทศศิลป์
34 ออกแบบผลิตภัณฑ์
35 ออกแบบประยุกต์ศิลป์
36 ออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา
37 ความถนัดทางนิเทศศิลป์
38 ทฤษฎีดุริยางคศิลป์

การคิดคะแนน
การคิดคะแนน คงขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ แต่ภายหลังได้มีการรวมผลการเรียนสะสมในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPA และค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไทล์ หรือ GPR เข้าไปด้วย

เคล็ดลับ 7 ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบ Admission




1. ค้นหาตัวเอง และคณะที่ตัวเองชอบ : การจะทำอะไรให้มันสำเร็จได้มันต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป้าหมายของการสอบ Admission ก็คือทำคะแนน GAT/PAT และ O-NET ให้มันดี แต่จริง ๆ แล้วการวางเป้าหมายแค่นั้นมักไม่เพียงพอ เพราะเวลาเราเหนื่อยเราท้อกับการอ่านหนังสือ เราจะเลิกความคิดที่จะทำคะแนนสูง ๆ อีกต่อไป และสาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะเราไม่มีหลักจริง ๆ
Tips: เทคนิคในการค้นหาตัวเอง และคณะที่ตัวเองชื่นชอบ
1) พิจารณาจากบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยส่วนตัว
2) พิจารณาจากความสามารถทางด้านวิชาการ
3) หาข้อมูลจากรุ่นพี่ๆประกอบการตัดสินใจ

ลองเข้ามาทำแบบทดสอบค้นหาตัวเองได้ที่
http://www.trueplookpanya.com/true/quiz_holland_readiness.php
หรือไปดูว่าอาชีพต่าง ๆ เขาทำอะไร อย่างไร ต้องเรียนอะไร และที่ไหนมีสอนบ้างในรายการ I AM

2. รวบรวมข้อมูล : หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วตัดสินใจได้ว่าอยากเรียนคณะอะไร หรืออยากทำอาชีพอะไรแล้ว คราวนี้เราก็มาหาที่เรียนกันโดยการรวบรวมข้อมูลของคณะที่เราอยากจะเข้า พิจารณาคณะที่เราต้องการในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสมัครว่ามีวิธีการรับทางใดได้บ้าง เพราะในบางคณะจะมีวิธีการรับเข้าหลายวิธีด้วยกัน เช่น การรับตรง (โควต้า) หรือ การใช้คะแนน GAT/PAT รอบแรก นอกจากนั้นบางคณะยังมีภาคภาษาอังกฤษอีกด้วย เราจึงควรรวบรวมข้อมูลโดยอ้างอิงจากข้อมูลปีที่แล้วว่าจะมีการเปิดให้สมัคร และมีการสอบในช่วงใดของปี วิชาที่ใช้สอบและเนื้อหาข้อสอบ เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วให้เขียนไว้ในปฏิทินว่าช่วงไหนน่าจะมีอะไรเปิด บ้าง จากนั้นก็คอยติดตามข่าวจาก website คณะหรือมหาวิทยาลัย
ค้นหาข้อมูลสถาบันต่าง ๆ ได้ที่
http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_after_m3.php?cms_category_id=122

3. ทดสอบตัวเอง : เมื่อรู้ข้อมูลวิชาที่ต้องการจะสอบแล้ว ให้ลองทำการจำลองการสอบด้วยตัวเอง จับเวลาให้เหมือนข้อสอบจริง และสอบให้ครบทุกวิชา ย้ำว่าต้องจับเวลาแบบจริงจัง จากนั้นก็ตรวจข้อสอบ แล้วดูคะแนนที่ทำได้ เทียบกับคะแนนต่ำสุดของคณะนั้นๆที่เราต้องการ แน่นอนว่าคะแนนของเราก็มักจะต่ำกว่าคะแนนต่ำสุด เพราะอาจจะมีอีกหลายบทที่ยังไม่ได้เรียน หรือยังไม่ได้ทบทวน คะแนนย่อมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่สิ่งที่เราต้องการคือการประเมินว่าเราห่างจากเป้าหมายของเรามากแค่ไหน แล้วอะไรหรือวิชาใดที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าคณะนั้น

4. จัดตารางการอ่านหนังสือ : เมื่อรู้แล้วว่าอะไรคือจุดอ่อนของเรา วิชาใด หรือบทใดที่จำเป็นต่อการสอบ แต่เรายังมีความรู้ไม่แน่นพอ ตอนนี้ก็ถึงเวลาวางตารางการอ่านหนังสือ ระยะเวลาและความหนักเบาของการอ่านหนังสือนั้นไม่สามารถจะกำหนดได้ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้จดจำ และที่ขาดไม่ได้คือต้องประเมินว่าคณะที่เราเลือกมีคู่แข่ง และคะแนนต่ำสุดมากน้อยแค่ไหน การจัดตารางการอ่านหนังสือควรจะวางแผนอ่านหนังสือให้เสร็จ 1 เดือนก่อนวันสอบ เพราะว่า 1 เดือนไม่ควรจะมาทบทวนเนื้อหาแล้ว ควรจะฝึกทำโจทย์จับเวลาและเน้นพัฒนาด้านเทคนิคเท่านั้น
ทบทวนเนื้อหารการเรียนได้ที่รายการสอนศาสตร์

5. ตะลุยข้อสอบ : 1 เดือนก่อนวันสอบจริง ให้เริ่มทำข้อสอบเสมือนจริงและจับเวลาเสมือนจริง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนวันอื่นๆก็ให้จัดตารางทำข้อสอบเป็นรายวิชาแยกไปแต่ละวัน ทุกๆอาทิตย์ก็ทำการประเมินว่ายังมีตรงไหนที่ไม่กระจ่าง ไม่เคลียร์ ทำการทบทวนและปรึกษาผู้รู้ หรือเพื่อนที่ถนัดวิชานั้นๆ มาช่วยก็ได้
ฝึกทำข้อสอบออนไลน์ได้ที่
http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_after_m3.php?cms_category_id=122

6.  ทำใจให้พร้อม : ฝึกสมองมามากแล้ว อย่าลืมฝึกจิตใจ หาเวลานั่งสมาธิเพื่อลดความประหม่า ยิ่งใกล้วันสอบ ยิ่งคณะที่เราเลือกมีการแข่งขันสูง ความประหม่าก็ยิ่งมา ความประหม่าและความเครียดอาจจะทำให้วันสำคัญของเราล้มเหลวได้ ดังนั้นขอให้เชื่อในความรู้และความสามารถของตัวเอง คิดซะว่าผลมันคือเรื่องรอง ความพยายามและความตั้งใจจริงคือสิ่งสำคัญที่สุดในการสอบ

7. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์การสอบให้ครบ 1 วันก่อนวันสอบ : เตรียมเอกสาร เหลาดินสอ ปากกา ยางลบ และบัตรประจำตัวต่างๆไว้ในซองใสเตรียมให้ครบก่อนหน้าวันที่จะสอบ อย่าเตรียมของตอนเช้าของวันสอบ ความตื่นเต้น และความลนอาจจะทำให้เราเผลอลืมหยิบสิ่งสำคัญเหล่านี้ได้