วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

10 วิธีคลายเครียดหลังสอบแอดมิชชั่น




หลังจากที่ สอบแอดมิชชั่น เสร็จกันแล้ว เพื่อนๆหลายคนคงลุ้นแบบนั้งไม่ติดเก้าอี้ ยิ่งใกล้ช่วงประกาศผลคงรีเฟรชหน้า ประกาศผลสอบแอดมิชชั่น แบบรัวๆ เม้าส์เปื่อยแน่ ๆ ยิ่งฟังก็ยิ่งเครียดมันกดดันรู้ไหม?

1. ฟังเพลง หามุมสงบ เพลงเพราะๆ เบาๆ หรือเสียงธรรมชาติ เสียงน้ำตก นกร้อง ห้ามเพลง ที่โดนจัยในช่วงนั้นๆ เช่นเพลงอกหักในช่วงอกหัก จะแย่ไปใหญ่

2. เขียนไดอารี่ หรือ วาดรูป ระบายมันออกมาที่ปลายปากกา / ดินสอ มันเลย ย้ากกก

3. ไปเที่ยว ตากอากาศ หยุดพักผ่อน กลางธรรมชาติ ไฮโซหน่อยก็ ต่างจังหวัด ทะเล ไรงี้?งบน้อยก็ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ น้ำตก ก็ยังดี

4. หาสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน หยอกล้อกับมัน หรือ คุยระบายเรื่องอัดอั้นให้มันฟังก็ได้มันไม่รู้เรื่องหรอกแต่ รับฟังอย่างดี ชัวร์

5. จินตนาการแสนสุข นอนลง หลับตา สร้างจินตนาการถึงความฝันที่วาดหวังเอาไว้หรือคิดถึงเรื่องที่มีความสุขที่เคยผ่านมา

6. ออกกำลังกาย ให้ร่างกายขยับเขยื้อน แนวที่ชอบ ซักวันละ 30 นาที ว่ายน้ำ โยคะอะไรก็ได้ ที่สะดวกจะทำ

7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งถ้าได้โลเกชั่นดีๆ อากาศถ่ายเท สะอาด สวยงามได้ จะดีมาก

8. การฝึกยิ้ม หัวเราะ มีอารมณ์ขัน และมองโลกในแง่ดีก็เป็นตัวช่วยที่ดี ทีเดียว

9. สำหรับผู้มีเกมส์ในครัวเรือน วิธีคลายเครียดคือ เล่นเกมส์ ซาดิสม์ทั้งหลาย?ประเภทเกมส์ ที่สามารถขับรถชนคนได้ แทง ฟันคนให้ตายได้ หรือเกมส์ ที่ทำลายข้าวของก็ไม่เลวคลายเครียดสุดยอดเลย แต่ อย่าโง่ แยกความจริง กะ เกมส์ไม่ออกล่ะ


10. หาหนังสือ หาบทความอะไรๆที่ดีๆจรรโลงใจอ่านเพื่อเพิ่มเติมกำลังใจ เพราะชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันต่อไปนะ
สอบแอดมิชชั่นส์ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต อย่าท้อ อย่าถอย 

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยระบบรับตรง (Direct System)




ระบบนี้ ทางสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ จะใช้ระเบียบกติกาตามที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ กำหนด โดยไม่ใช้กฎเกณฑ์ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดขึ้น ระบบนี้ทางสถาบันนั้น ๆ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะอย่างแท้จริง รวมถึงเปิดโอกาสกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ ให้เข้าศึกษาต่อได้มากยิ่งขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่สนใจศึกษาต่อในสถาบันนั้น ๆ ทั้งนี้โดยทั่วไปสถาบันนั้น ๆ อาจพิจารณารับเข้าได้จากหลายเกณฑ์เช่น จากผลคะแนนสอบตรงที่สถาบันนั้น ๆ จัดขึ้น จากความสามารถพิเศษเช่นทางด้านกีฬา ดนตรี เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนของระบบแอดมิสชันส์




1.ทดสอบแบบทดสอบต่าง ๆ ข้างต้น ตามที่แต่ละคณะ/สาขาวิชาได้กำหนดไว้ให้ครบถ้วน

2.สมัครเข้าศึกษาและเลือกคณะที่ต้องการศึกษาต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเลือกได้ไม่เกิน 4 อันดับ และนำเงินค่าสมัครไปจ่ายผ่านทางธนาคารหรือที่ทำการไปรษณีย์

3.ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะนำคะแนนสอบต่าง ๆ มาคำนวณกับ GPA และ GPAX ให้เป็นคะแนนเต็ม 10,000 เพื่อใช้ตัดสินผลตามอันดับที่เลือกไว้ ซึ่งการคำนวณคะแนนของแต่ละคณะของแต่ละคนก็จะได้ผลคะแนนรวมที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคณะนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ GPA/คะแนนสอบ วิชาใดบ้าง และใช้น้ำหนักเท่าใด โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 9 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่
 :* สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
 :* สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากร
 :* สาขาวิศวกรรมศาสตร์
 :* สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
 :* สาขาเกษตรศาสตร์
 :* สาขาบริหารธุรกิจพาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์
 :* สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
 :* สาขาศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
 :* สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็จะใช้
- GPAX 10% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- GPA กลุ่มสาระภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 4% รวม 20% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- คะแนน O-NET ทั้ง 5 วิชา วิชาละ 7% รวม 35% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด
- คะแนน A-NET ภาษาอังกฤษ 10% คณิตศาสตร์ 10% และวิทยาศาสตร์ 15 % รวม 35% จากองค์ประกอบในการรับเข้าทั้งหมด เป็นต้น

4. สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย


5. ประกาศผลการคัดเลือก

การสอบวิชาเฉพาะ




วิชาเฉพาะมีลักษณะเดียวกับ A-NET คือไม่จำเป็นต้องสอบ ขึ้นอยู่กับว่าคณะนั้น ๆ ต้องการใช้คะแนนส่วนนี้ในการคัดเลือกหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

วิชาภาษาต่างประเทศ
31 ภาษาฝรั่งเศส
32 ภาษาเยอรมัน
33 ภาษาบาลี
34 ภาษาอาหรับ
35 ภาษาจีน
36 ภาษาญี่ปุ่น

สำหรับปีการศึกษา 2548 สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติได้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ภาษาต่างประเทศ) พร้อมกับการสอบ O-NET และ A-NET ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2549

วิชาความถนัด
37 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
38 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
39 ความถนัดทางวิชาชีพครู (วัดแววความเป็นครู)
40 ความรู้ความถนัดทางศิลป์
41 ทฤษฎีทัศนศิลป์
42 ปฏิบัติทัศนศิลป์
43 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
44 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
45 วาดเส้น
46 องค์ประกอบศิลป์
47 ความถนัดทางนิเทศศิลป์

สำหรับปีการศึกษา 2548 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เป็นผู้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ความถนัด) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548

ในปัจจุบันนั้น พุทธศักราช 2552 เป็นปีสุดท้ายที่มีการใช้ A-NET ในปี พุทธศักราช 2553 เป็นต้นไป นั้นได้ใช้ ความถนัดทั่วไป (GAT) และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) แทนในระบบ


การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง




การทดสอบทางการศึกษาการแห่งชาติขั้นสูง หรือ เอเน็ต (Advanced National Education Test: A-NET) เป็นข้อสอบที่มีระดับความยากและความซับซ้อนมากกว่าข้อสอบ O-NET โดยวัดความรู้ เน้นการคิด การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ โดยจะสอบกี่ครั้งก็ได้ และคะแนน A-NET จะใช้ได้ครั้งละ 3 ปี

อย่างไรก็ตาม นักเรียนสามารถสมัครสอบทุกวิชา บางวิชา หรือไม่ต้องสอบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคณะและสาขาที่สนใจเข้าศึกษาต่อนั้นต้องการคะแนน A-NET วิชาใดบ้าง หรือไม่ต้องใช้ในการคัดเลือกเลย (เช่น นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์) วิชาที่จัดสอบ A-NET ได้แก่

11 ภาษาไทย เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่ตัดเนื้อหาการพูดออกไป เน้นหลักเนื้อหาการใช้ภาษาและเนื้อหาวรรณคดีให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
12 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET ไม่มีคำถามอัตนัย แต่เพิ่มความยากขึ้น
13 ภาษาอังกฤษ เนื้อหาสาระเหมือนกับข้อสอบ O-NET แต่เน้นการอ่านและการเขียนให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยมีคำถามอัตนัยให้เขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความ บทกวี หรือเพลงที่ได้อ่าน ความยาว 70-140 คำ มีเกณฑ์ให้คะแนน 0-20 คะแนนตามความถูกต้อง การใช้ภาษา การลำดับความ และการสื่อความที่เหมาะสม
14 คณิตศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น ตรรกศาสตร์เบื้องต้น เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ เรขาคณิตวิเคราะห์ เวกเตอร์ในสามมิติ แคลคูลัสเบื้องต้น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เป็นต้น
15 วิทยาศาสตร์ เนื้อหาสาระต่างจากข้อสอบ O-NET โดยตัดเนื้อหาวิทยาศาสตร์กายภาพออกไปเหลือเพียงวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ในข้อสอบจะแบ่งเนื้อหาดังกล่าวจากกันชัดเจนมากขึ้น และมีเนื้อหาใหม่และเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มระดับความยากขึ้น เช่น กลศาสตร์ของไหล ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตารางธาตุ สมดุลเคมี ทฤษฎีกรด-เบส ไฟฟ้าเคมี สารชีวโมเลกุล การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ พันธุศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น

ข้อสอบ A-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 20% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม


การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน




การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (Ordinary National Education Test: O-NET) เป็นการวัดความรู้ที่เรียนมาตลอดช่วงชั้นที่ 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยจะสอบเมื่อเรียนจบปีที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) เพียงครั้งเดียว และคะแนนที่ได้ก็จะติดตัวตลอดไป

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการทดสอบ ข้อสอบ O-NET ออกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ไม่มีการแยกแผนการเรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่ออกสอบซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานทั้งหมด จึงต้องสอบทุกคน วิชาที่จัดสอบและเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ คือ

01 ภาษาไทย มีเนื้อหาสาระหลัก ได้แก่
หลักการใช้ภาษา

02 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีเนื้อหาสาระหลัก 5 สาระ ได้แก่
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ)
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม (กฎหมาย สังคมวิทยา และการเมือง)

03 ภาษาอังกฤษ
การใช้ภาษาและคำศัพท์
การอ่าน
การเขียน (หาที่ผิดทางไวยากรณ์)
การพูด

04 คณิตศาสตร์ ขอบเขตของเนื้อหา ได้แก่
เซต การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน อัตราส่วนตรีโกณมิติ

05 วิทยาศาสตร์ เนื้อหากว้าง ๆ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และกายภาพ (โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ) แต่หากแบ่งตามสาระการเรียนรู้ ก็จะได้แก่
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สารและสมบัติของสาร
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ข้อสอบ O-NET 1 ฉบับจะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) มีประมาณ 10% เป็นการให้เขียนคำตอบสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความหรือตัวเลขจากการคำนวณ โดยจะมีคะแนนแตกต่างไปตามระดับความยากง่ายของคำถาม

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมมีผลยังไง?




ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) คือผลการเรียน (เกรด) เฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า) ในปีการศึกษา 2548 (พ.ศ. 2549) จะนำมาใช้ 10% จากองค์ประกอบในการรับทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเกรดจะเฉลี่ยของวิชาพื้นฐาน (หลัก) และวิชาเพิ่มเติม (เลือก) ที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เฉพาะในสาระการเรียนรู้นั้น ได้แก่

21 ภาษาไทย
22 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
23 ภาษาต่างประเทศ
24 คณิตศาสตร์
25 วิทยาศาสตร์
26 สุขศึกษาและพลศึกษา
27 ศิลปะ
28 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

เช่น หากได้เรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หากเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ หรือหากเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและวิชาภาษาเยอรมัน ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
แต่ละคณะจะกำหนดกลุ่มสาระและค่าน้ำหนัก (เป็น %) ของกลุ่มสาระที่จะนำ GPA มาพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสาขาที่จะศึกษาต่อ โดยส่วนใหญ่จะนำ GPA ของวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาใช้ แต่คณะสาขามนุษยศาสตร์ก็มักจะไม่นำ GPA คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิจารณาคัดเลือก
เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ช่วงชั้นที่ 4) จะได้รับใบแสดงผลการเรียน (ปพ.) ซึ่งบอกทั้ง GPAX และ GPA กลุ่มสาระอยู่แล้ว จึงไม่ต้องคำนวณเองจากคะแนนเฉลี่ยแต่ละภาคเรียน